เรื่องของเพลิงไหม้ ต่อให้ซ้อมมาดีแค่ไหน ไม่ประมาทจะดีกว่า
โบราณว่าไว้ อย่าเล่นกับไฟ!!! อาจจะแปลได้หลายความหมาย แต่ถ้าพูดถึงที่พักอาศัยโดยเฉพาะคอนโด ที่มีห้องติดกันแล้ว แอดมินเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ เพราะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ห้องชุดขึ้นมาห้องหนึ่งแล้ว จะส่งผลกระทบถึงห้องข้างเคียงแน่นอน
เมื่อเกิดเหตุแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง??
ต้องบอกเลยว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการของเรา มีการเตรียมความพร้อมและซักซ้อมเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้มาเป็นอย่างดี โดยมีการอบรมเป็นประจำทุกปี และต้องทำงานแข่งกับเวลา จึงทำให้การตัดสินใจเข้าระงับเหตุฉับไวและทันที รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันเหตุเพลิงไหม้อย่างสปริงเกอร์ภายในห้องชุดก็ทำงานรวดเร็ว ดังนั้นห้องที่เกิดเหตุ นอกจากจะได้รับผลกระทบจากเพลิงไหม้แล้ว ยังจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการระงับเหตุเช่น น้ำท่วมห้องชุดจากสปริงเกอร์ที่ทำงานทันที หรือหากเพื่อนๆ ไม่ได้อยู่บริเวณใกล้ๆ ที่สามารถวิ่งมาเปิดประตูห้องได้ เจ้าหน้าฝ่ายจัดการก็มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการใช้ขวานจามประตูห้อง เพื่อระงับเหตุไม่ให้ลุกลามเป็นวงกว้าง นอกจากนั้นห้องของเพื่อนข้างเคียงก็จะได้รับผลกระทบจากสปริงเกอร์เช่นกัน
เรามาทราบสาเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ในห้องชุดกันดีกว่า
-
-
- การเสียบปลั๊กหลายอัน บนปลั๊กพ่วงอันเดียว
- อุ่นอาหารทิ้งไว้
- สูบบุหรี่ที่ระเบียงแล้วเศษบุหรี่ หรือก้นบุหรี่ปลิวไปตกเสื้อผ้าที่ตากไว้ของเพื่อนบ้าน
- จุดธูป /เทียน ในห้องชุด
- เครื่องใช้ไฟฟ้าเสื่อมสภาพ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
-
ซึ่งสาเหตุเหล่านี้มักเกิดจากความประมาท ที่เราคิดว่าแป๊บเดียว คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเราตัดการไม่ประมาทออกก็จะดีกว่า เพราะถึงแม้ว่าฝ่ายจัดการจะมีการซักซ้อมเตรียมการหากเกิดเหตุเพลิงไหม้จริงเป็นประจำทุกปี และมีการจัดกิจกรรมซ้อมหนีไฟให้กับสมาชิกผู้พักอาศัย เพื่อป้องกันการเสียหายที่รุนแรง แต่หากเราช่วยกันดูแลบ้านของตัวเอง คนละไม้คนละมือ เท่านี้ก็จะลดความเสียหายต่อตัวเอง และเพื่อนบ้านได้แล้วค่ะ