blood donate
Lumpini Trendy

ข้อควรรู้…ก่อนบริจาคโลหิต 01

blood donate

การเตรียมตัวก่อนการบริจาค และการปฏิบัติตนหลังจากการบริจาคโลหิต เป็นสิ่งสำคัญที่ “ผู้บริจาค” ควรทำความเข้าใจ และปฏิบัติตาม เพื่อให้การบริจาคโลหิตมีความปลอดภัย และเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ให้ และผู้รับได้อย่างแท้จริง

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

before blood donate

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในเวลานอนปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
  • สุขภาพสมบูรณ์ทุกประการไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ
  • รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่างๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ  เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
  • ดื่มน้ำ 3-4 แก้วและเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณ โลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

while blood donate

ขณะบริจาคโลหิต

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไปสามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
  • เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจนที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
  • ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
  • ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
  • ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการ ผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที

 

หลังบริจาคโลหิต

  • after blood donate
  • เมื่อบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ควรนอนพักบนเตียงสักครู่ห้ามลุกจากเตียงทันที อาจทำให้เวียนศีษะเป็นลมได้ ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
  • ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
  • หลีกเลี่ยงการทำซาวน่าหรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
  • ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติหากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
  • ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผลอย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
  • ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
  • รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและรับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก

“หลังบริจาคโลหิต ถ้าไม่สบาย หรือไม่มั่นใจว่าโลหิตที่บริจาคปลอดภัย
หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการบริจาคโปรด โทรแจ้งหน่วยงานที่ท่านบริจาค”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
http://blooddonationthai.com/

Facebook Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *